วันพฤหัสบดีที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2551

ประเมินความก้าวหน้า

จิราพร รัตนเลิศนาวี

จีรวัฒน์ ภูมิภาค

จีระศักดิ์ กุลแดง

วรัญญา กมลเลิศ

พิชยา ทองจันทร์

สรินนา โชติพนัส

ทิพวรรณ หนูชะดี

สรัญญา เสนาบุตร

แพรวพรรณ ร่วมคิด

ธัญญลักษณ์ น้อยบาท

พิลาสลักษณ์ ภาสะเตมีย์

รชตวรรณ ศิริรัตน์

วรัญญา สุโข

รัชนี บุตรวาปี

สาวิตรี ศรีสังวรณ์

นงนุช พรมบุตร

วรรณิศา สงเอียด

บุญล้อม บุตรวิเศษ

ดาราเกตุ เกตุแก้ว

เบญจมาภรณ์ เกษรปัญโญ

พิชญา พวงพุด

อัญชลี วังหินกอง

ศศิธร สุทิพัฒนโมฬี

ปิยวรรณ จันทร์สุข

สิวยา บุตรศรีทา

ศิรินภา แก้วกาหลง

รจริน คายสี (ไม่มา)

จันทร์เพ็ญ พรหมเอียด (ไม่มา)

ดวงแก้ว หอมดี (ไม่มา)

สิริจันทร์ นาคนาคา

กัญญาวีร์ ประทุม

จิราพร พุ่มเรือง

ศิรินภา คำทวี

วันพุธที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2551

การสอนภาษาธรรมชาติ(ต่อ)


กระบวนการ

บรรยากาศการเรียน
มีลักษณะของความร่วมมือกันระหว่างครูและเด็กๆ ตั้งแต่การวางแผน คือ คิดด้วยกันว่าจะทําอะไร ทําเมื่อไร ทําอย่างไร จําเป็นต้องใช้วัสดุอุปกรณ์อะไร จะหาสิ่งที่ต้องการมาได้อย่างไร และใครจะช่วยทํางานในส่วนใด

การวางแผน
แผนระยะยาว (long-range plans) เพื่อวางกรอบความคิดกว้างๆ
แผนระยะสั้น (short-range plans)โดยเด็กและครูจะใช้ความคิดพูดคุยปรึกษากันเพื่อหารายละเอียดและขั้นตอนในการทํากิจกรรม

การฟังและการพูดของเด็ก
เด็กมีโอกาสได้ยินเสียงแม่พูด แม้ว่ายังพูดไม่ได้
เด็กเกิดการเรียนรู้ภาษาพูดเพราะการสอนเด็กให้พูดนั้น เด็กจำเป็นต้องได้ยินได้ฟังภาษาพูดก่อน ยิ่งได้ฟังมากจะเข้าใจชัดเจนขึ้นและยิ่งเรียนรู้คำศัพท์มากขึ้น การเรียนรู้วิธีพูดเป็นประโยคยาว ๆ ทําให้เด็กมีพัฒนาการด้านภาษาอย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น
เด็กวัย ๒ - ๓ ขวบ การพูดของแม่จะช่วยให้ลูกมีพัฒนาการทางภาษาที่ดี การสนทนา การซักถามเกี่ยวกับกิจวัตรประจําวันเป็นสิ่งจําเป็นในการส่งเสริมและพัฒนาการเรียนรู้ในด้านการเข้าใจความหมายของภาษาจากเรื่องง่ายไปจนถึงเรื่องที่ยากและสลับซับซ้อนมากขึ้น
ภาษามีบทบาทในการสื่อความคิดรวมไปถึงจินตนาการ เพื่อตอบสนองความต้องการของตนได้เป็นอย่างดี
การอ่านและการเขียน 
การอ่านหนังสือให้เด็กฟังทุกวันเป็นสิ่งจําเป็นในการให้โอกาสเด็กเรียนรู้เพื่อพัฒนาภาษาเขียน ขณะที่อ่านควรชี้นิ้วตามตัวหนังสือประกอบไปด้วย ทําให้เด็กเรียนรู้กฎเกณฑ์ทุกขั้นตอน สิ่งที่สําคัญคือการให้เด็กเรียนรู้ที่จะเข้าใจประเด็นในเรื่องที่อ่านว่าสิ่งที่ประกอบกันขึ้นทั้งหมดคือองค์รวมที่เป็นเนื้อหาที่นําเสนอระบบการคิดผ่านไวยากรณ์ของภาษา
ควรสนทนากับเด็กเกี่ยวกับกฎเกณฑ์ทางภาษาอย่างง่าย ๆ เนื้อหาที่อ่านควรสัมพันธ์กับสิ่งต่างๆรอบตัว และพยายามเชื่อมโยงกับประสบการณ์เดิมของเด็กตลอดเวลาเพื่อให้เห็นประโยชน์และความเกี่ยวพันของภาษาเขียนกับชีวิตจริง
จึงกล่าวได้ว่า การเขียนหมายถึงการสื่อสาร เพื่อแสดงความคิด ความรู้สึกออกมาอย่างมีความหมาย
การเขียนและการอ่านจะดําเนินไปพร้อมกัน เนื่องจากการเป็นนักเขียนที่ดีได้นั้นต้องอาศัยการอ่านที่แตกฉานในเรื่องนั้นๆ ส่วนการฝึกฝนให้เด็กเขียนหนังสือนั้น ครูต้องตระหนักว่าการฝึกเขียนที่ให้ลอกเลียนแบบ โดยเด็กไม่ได้ใช้ความคิด แต่เป็นการฝึกกล้ามเนื้อมือ หรือฝึกเฉพาะความสวยงามของลายมือนั้นแตกต่างโดยสิ้นเชิง กับการเขียนที่มาจากความคิด
ภาษาที่ได้จากการฝึกคิดและถ่ายทอดความคิดออกมาเป็นภาษาสัญลักษณ์ คือ ตัวอักษรอย่างธรรมชาติจากการได้ฟังมาก ได้อ่านมาก จนสามารถถ่ายทอดเองได้ และมาฝึกฝนความถูกต้องสวยงามภายหลังส่วนการอ่านนั้นสามารถทําได้ตลอดเวลาด้วยการอ่านจากหนังสือ จากถนน จากสิ่งรอบตัวจากป้ายโฆษณา จากถุงขนม
ความรู้ของเด็กจะเพิ่มพูนขึ้นเมื่อเด็กได้รับโอกาสในการทํากิจกรรมที่เกี่ยวกับการอ่านร่วมกับผู้ใหญ่ และกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้อ่านเงียบๆตามลําพัง การอ่านกับเพื่อนเป็นคู่ เป็นกลุ่มย่อย เพื่ออภิปรายร่วมกัน ในการรับฟังและตรวจสอบความคิดความเข้าใจซึ่งกันและกัน โดยเฉพาะการอ่านจากสิ่งที่ ครู – เด็ก เขียนร่วมกัน หรือสิ่งที่เด็กเขียนขึ้นเอง นับได้ว่าเป็นการอ่านที่ดีที่สุดของเด็ก

ลักษณะสำคัญและกิจกรรมทางภาษาแบบองค์รวม

อ่าน – เขียน
เน้นความเข้าใจเนื้อเรื่องมากกว่าการท่องจำตัวหนังสือผ่านการฟังนิทาน เรื่องราวสนทนาโต้ตอบ คิดวิเคราะห์ร่วมกับครูหรือผู้ใหญ่    
การคาดคะเนโดยการเดาในขณะอ่าน เขียน และสะกด เป็นสิ่งที่ยอมรับได้ในการเรียนรู้ภาษาธรรมชาติ โดยไม่จำเป็นต้องอ่านหรือสะกดถูกต้องทั้งหมด
มีหนังสือ วัสดุสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ให้เด็กเป็นผู้เลือก เพื่อได้รับประสบการณ์ทางภาษาอย่างหลากหลาย    
ครูแนะนำและสอนอ่านในกลุ่มที่ไม่ใหญ่มากโดยใช้หนังสือเล่มใหญ่ที่เห็นชัดเจนทั่วกัน  
  ให้เด็กแบ่งกลุ่มเล็กๆผลัดกันอ่านด้วยการออกเสียงดังๆ    
ครูสอนการอ่านอย่างมีความหมายด้วยความสนุกสนานในกลุ่มย่อย สอนให้รู้จักวิธีการใช้หนังสือการเปิดหนังสืออย่างถูกต้อง
เปิดโอกาสให้เด็กพูดคุย ซักถามจากประสบการณ์เดิมซึ่งครูสามารถประเมินความสามารถการอ่านของเด็กแต่ละคนไปด้วยพร้อมกัน    
ให้เด็กแต่ละคนมีโอกาสเลือกอ่านหนังสือที่ชอบและยืมไปนั่งอ่านเงียบ ๆ    
ให้เด็กได้เขียน ขีดเขี่ย วาดภาพ ถ่ายทอดสิ่งที่เรียนรู้จากประสบการณ์ ความประทับใจ อย่างอิสระ    
ครูตรวจสอบสภาพการเขียนของเด็กแต่ละคนโดยการให้เด็กเล่าสิ่งที่เขียนหรือวาดให้ครูฟัง โดยครูอาจแนะนำการเขียนที่ถูกต้อง เพื่อให้เด็กพัฒนาการเขียนได้ด้วยตัวเด็กเองทุกวันโดยไม่มุ่งแก้คำผิดหรือทำลายความอยากเขียนของเด็ก

ความเชื่อมโยงภาษาพูดกับภาษาเขียน

  ภาษาพูดกับภาษาเขียนมีความเชื่อมโยงสัมพันธ์กันโดย ความรู้เกี่ยวกับคำจะเพิ่มพูนมากขึ้นเมื่อเราพูด เล่า สนทนาโต้ตอบกัน
เราอ่านจากหนังสือประเภทต่าง ๆ อ่านจากป้ายในทุกหนทุกแห่งที่สนใจ จะทำให้เด็กมีโอกาสเรียนรู้เรื่องราวต่างๆไปพร้อมๆกันและช่วยให้เด็กมี ความรู้เพิ่มพูนขึ้น      
ทักษะการสนทนาจะพัฒนามากขึ้น ด้วยการพูดคุยกับพ่อแม่ เพื่อน ครู ในสถานการณ์หรือเรื่องราวที่มีความสัมพันธ์กับตัวเด็ก เมื่อเด็กได้รับโอกาสในการแสดงออกโดยการพูด เด็กจะได้เรียนรู้จากสิ่งที่ได้ยินได้ฟัง จากสิ่งที่ผู้ใหญ่อ่านให้ฟัง ซึ่งเด็กนำไปใช้เพื่อการสื่อสาร หรือแสดงความรู้สึกนึกคิดออกมาในการดำเนินชีวิตประจำวันซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการรู้ความหมายในภาษาเขียน
จุดสำคัญการส่งเสริมและพัฒนาภาษาคือการที่ผู้ใหญ่อ่านหนังสือให้เด็กฟัง ในขณะที่ครูอ่านไป เด็กจะมองตามตัวหนังสือและมักจะพยายามหาความหมายไปด้วยจากภาพหรือจากตัวหนังสือ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของพฤติกรรมการรู้หนังสือ…

อ. จ๋า

วันพฤหัสบดีที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2551

การสอนภาษาธรรมชาติ


ภาษาธรรมชาติ
(Whole Language Approach)
การสอนภาษาโดยองค์รวม
โคมินิอุส
เด็กสามารถค้นพบข้อมูลใหม่ ๆ ได้ด้วยการนําเสนอด้วยสิ่งที่เด็กคุ้นเคยในชีวิตอยู่แล้ว เด็กจะเข้าใจสิ่งของที่เป็นรูปธรรมได้โดยการใช้ภาษาถิ่นหรือภาษาในชีวิตประจําวันของเด็ก

กู๊ดแมน สมิธ เมอร์ริดิธ
ความรู้จะเกิดขึ้นอย่างพรั่งพรูจากกระบวนการเรียนรู้และมีการพัฒนาภาษาพูด ภาษาเขียน ซึ่งครูจะเห็นได้ชัดเจนจากการที่ เด็ก ๆ นั้นอาศัยภาษาเป็นสื่อในการแก้ปัญหาต่าง ๆ อย่างมีความหมายในกระบวนการเรียนรู้ทั่ว ๆ ไปของเด็กในโรงเรียน ครูใช้ภาษาทุกทักษะ ด้าน การฟัง พูด อ่าน เขียน แบบองค์รวมในทุกกิจกรรมในห้องเรียน เช่น การวิเคราะห์เรื่องราวต่างๆ การแนะแนวหลักสูตร การทําจดหมายข่าว การเขียนบทความ การเขียนหนังสือต่างๆ ฯลฯ ครูบางกลุ่มได้อธิบายการพัฒนาปรับเปลี่ยนการอ่านของเด็กจนเกิดแนวทางใหม่ในการอ่านแบบภาษาธรรมชาติ

จูดิท นิวแมน (Judith Newman)
การสอนภาษาโดยแนวคิดองค์รวมมีลักษณะเป็นปรัชญา(Philosophical stance)ในความคิดของผู้สอนโดยก่อตัวขึ้นจากหลักการสอนที่ผู้สอนนํามาบูรณาการ

นักทฤษฎี.........เรื่องภาษาธรรมชาติ
จอห์น ดิวอี้
การเรียนรู้ภาษาของเด็กเกิดจากประสบการณ์ตรงโดยการลงมือกระทําด้วยตนเอง (Learning by doing)

ทฤษฎีที่เป็นกุญแจสําคัญของการสะท้อนความคิดต่อการสอนของครู (Reflective teaching)
ผู้เรียนต้องเป็นศูนย์กลางของกระบวนการเรียนรู้ ครูผู้สอนควรบูรณาการด้านภาษาให้กลมกลืนไปกับการเรียนรู้ทุกเรื่องในหลักสูตร ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของนักทฤษฎีต่อไปนี้

เพียเจท์
เด็กจะเรียนรู้ผ่านกิจกรรมด้วยการเคลื่อนไหวและมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมเพื่อสร้างองค์ความรู้ขึ้นภายในตนเองนั้นโดยเด็กเป็นผู้กระทํา (Active) ก่อให้เกิดการเรียนรู้ในการคิดด้วยตนเอง จึงกล่าวได้ว่า การเรียนรู้ของเด็กเกิดขึ้นจากการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมผ่านการเล่นซึ่งช่วยให้เด็กได้เรียนรู้ภาษาจากกิจกรรมที่ทําร่วมกันและเป็นรายบุคคล

ไวกอตสกี

การเรียนรู้ภาษาของเด็ก เกิดขึ้นได้จากการมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลใกล้เคียง เช่น พ่อ แม่ เพื่อน และ ครู บริบทหรือสิ่งต่างๆรอบตัวมีอิทธิพลต่อเด็กในการช่วยเหลือให้ลงมือทําเป็นขั้นตอน ผ่านการเล่นและกิจกรรม นำไปสู่การเรียนรู้ภาษาผ่านการใช้สัญลักษณ์

ฮอลลิเดย์
บริบทที่แวดล้อมในสถานการณ์ที่หลากหลายมีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ และการใช้ภาษาของเด็ก เด็กจะเป็นผู้ใช้ภาษาในการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้คนที่เกี่ยวข้อง ในการเรียนรู้ทุกสิ่งผ่านภาษา และเรียนเกี่ยวกับภาษาไปพร้อม ๆ กัน

กู๊ดแมน
ภาษาเป็นเครื่องมือที่สําคัญสําหรับชีวิตเด็ก เด็กต้องเรียนรู้ภาษา และต้องใช้ภาษาเพื่อการเรียนรู้ ดังนั้นครูจะต้องตระหนักและให้ความสําคัญกับภาษา
อ.จ๋า

วันศุกร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

มีกำลังใจ


วันนี้ออกแบบบล็อคเพื่อทำเป็นแฟ้มเก็บผลงานในรายวิชาการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
สังเกตุได้ว่าทุกคนทำได้ดี มีความพยายาม ไม่ท้อถอย พยายามปรับปรุงในสิ่งที่ครูเสนอแนะ ทำให้ครูมีกำลังใจในการสอน
และมองเห็นภาพอนาคตของนักศึกษาหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษมว่าไม่ได้มีความรู้เท่ากับเด็กอนุบาลเหมือนที่บางคนปรามาสเราไว้แต่เรามีความรู้และความสามารถที่จะใช้เทคโนโลยีในการสืบค้นข้อมูลเพื่อพัฒนาตนเองอีกทั้งอบรมเลี้ยงดูและส่งเสริมพัฒนาการให้ลูกศิษย์ของเราเป็นผู้ที่มีทักษะในการเรียนรู้ต่อไปในอนาคต
อ. จ๋า